ReadyPlanet.com


ค่าตอบแทน


ถึงสมาชิก รพช. ทุกท่าน

วันนี้ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมค่าตอบแทนที่ถือว่ามีการจัดการประชุมแบบแปลกๆ  ที่บอกว่าแปลกเพราะ เชิญประชุมให้เข้าประชุมห้องประชุม4 ชั้น 2 กับกลุ่ม รพศ/รพศ ให้ช่วยพิจารณาค่าตอบแทนกรณีขาดแคลน (ตามร่างที่ส่งมาให้) แต่ขณะที่ ชั้น5 มีการเชิญประชุม แพทย์จากชมรมแพทย์ชนบทประกอบด้วย นพ. เกรียงศักดิ์ นพ.อารักษ์ ผอ.รพ กุฉินารายณ์ ผอ.รพ ภูเขียว คุยกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังกรมบัญชีกลาง มีคุณนิชากร จากสนย.เป็นผู้ประสานงานที่ประชุมชั้น๕  คุยกันเรื่องค่าตอบแทนกรณีพื้นที่เฉพาะ เมื่อกลุ่มชั้น๒ประชุมเสร็จขอเข้าฟังชั้น๕ กลับไม่ให้เข้าฟังไม่ให้ข้อมูล แปลกไหมละ แต่จากคำบอกเล่าจากแพทย์อารักษ์ ท่านให้ข้อมูลว่าขอยืนยันการจ่ายแบบเดิม (ฉับบที่ ๔ และ ฉบับที่ ๖) จริงเท็จต้องหาข้อมูลจากคนที่เข้าประชุม โดยขอให้จ่ายด้วยงบประมาณแบบเดิม โดยมีการแสดงข้อเท็จจริงว่าการจ่ายแบบดังกล่าวทำให้มีแพทย์กลับมารับราชการใน รพช.เพิ่มขึ้น  แต่กรณีแพทย์ที่อยู่หรือแพทย์ที่เพิ่มขึ้นมานั้นมีคุณภาพหรือทำงานจริงหรือเปล่าหรือมีเฉพาะจำนวน คนที่อยู่นานมาทำงาน ๑๐ โมงเช้าบ่ายหาย ตรวจผู้ป่วยวันละไม่กี่คน มีการผ่าตัดก้อไม่ทำส่งต่ออย่างเดียวแล้วรับเงิน๕-๖ หมื่น ได้เอามาพิจารณาหรือๆไม่ว่าเงินเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการจ่ายงบประมาณก้อนนี้หรือเปล่า (ไม่มีคำตอบค่ะ)  และเมื่อถามเรื่องอัตราที่จ่ายสูงเกินความเป็นจริงหรือไม่ ขณะที่คนอื่นๆ ได้รับอัตราที่น่าเกลียดที่สุดได้มีการทบทวนหรือเปล่าได้คำตอบว่าก้อรับจากงบประมาณเท่าเดิมไปก่อน แต่ถ้าจะเพิ่มก้อให้ออกระเบียบกระทรวงใหม่โดยใช้เงินบำรุง (เป็นไงละ ตัวเองเอาจากเงินงบประมาณชัวร์ แต่คนอื่นเอาเงินบำรุงที่ไม่มีจะจ่ายอยู่แล้ว)  ที่เล่าเพราะอยากให้ทุกคนและทุกวิชาชีพลองดูวิธีการทำงานว่าคนที่เป็นตัวแทนมานำเสนอไม่มีตัวแทนจากวิชาชีพอื่นนอกจากแพทย์ถึงแม้นจะบอกว่าเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลพูดแทนทุกวิชาชีพได้อยู่แล้ว จริงหรือ และท่านได้ดูแลทุกคนจริงๆไหม 

                ต่างกับกลุ่มที่ประชุมเพื่อนำเสนอร่างกรณีขาดแคลนมีตัวแทนจากทุกวิชาชีพ แม้ว่าในเวทีการประชุมมีการพูดคุยกันถึงหลักเกณฑ์ที่อาจส่งผลให้แต่ละวิชาชีพไม่ได้เท่ากันหมดแต่แนวคิดนี้ถือว่าทำให้ทุกคนมีหลักเกณฑ์ และมีเหตุผล มากกว่าการจ่ายแบบหว่านให้โดยไม่สามารถบอกว่าทำไมต้องจ่ายให้กับแพทย์ ทันตแพทย์ ถึงเดือนละ 50,000 ในโรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ติด กทม.มีคนแย่งกันไปอยู่มีคนเกินเช่น มีทันตแพทย์8 คนมียูนิตทำฟันแค่4 ยูนิต  ที่สนับสนุนกลุ่มนี้ไม่ใช่เพราะเข้าประชุม หรือเพราะพยาบาลได้มากกว่าฉบับที่๖  แต่เพราะยอมรับในเหตุผลที่นำมาคิด แต่หากนำมาใช้จริงคงต้องได้รับการยอมรับจากทุกงานด้วยเพราะพยาบาลใน OPD อาจไม่ได้แต่พยาบาลในหอผู้ป่วยอาจจะได้ แต่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องคนไม่ยากทำงานหนัก ก้อได้นะ

                เรื่องนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะจบลงอย่างไร  แต่อยากให้การจ่ายค่าตอบแทนนี้เป็นการทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น หากแพทย์ชนบทจะช่วยให้คนที่ได้รับค่าตอบแทนนี้ทำงานเหมือนข้าราชการที่ดีที่ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจตั้งแต่ ๘ โมงเช้าถึง ๔ โมงเย็น ได้  ผู้ป่วยในได้รับการตรวจเยี่ยมตั้งแต่ ๙ โมงไม่ต้องรอๆๆๆ  และทำให้มีแพทย์ตรวจผู้ป่วย ๒๔ ชั่วโมงไม่ต้องกินแรงวิชาชีพอื่นให้ทำแทน รับรองว่าเงินที่ได้ไม่มีใครค้านแน่  ไม่ใช่อ้างแต่ขาดคน  และขู่ว่าถ้าไม่ได้จะลาออกกันหมด  ซึ่งไม่รู้ว่าจะออกหมดจริงหรือเปล่าเพราะคิดว่ากระทรวงสาธารณสุขเราน่ายังมีแพทย์ทีดีๆๆ ที่เห็นกับผู้รับบริการมากกว่าเงินไม่กี่หมื่น ไม่ทราบว่าผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจะเห็นกับแพทย์กลุ่มหนึ่งที่เป็นต้นเหตุแห่งปัญหาความขัดแย้งของกระทรวงเข้ามาแก้ปัญหาทั้งระบบอย่างไร  น่าจะลองรื้อทั้งระบบดีไหมหากมีการลาออกจริง คิดว่าแพทย์ รพท/รพศ พร้อมที่จะรับมือ ช่วยท่านแน่นอน แต่หากยังเป็นแบบเดิมไม่มีการทบทวนเรื่องนี้คง ขวัญและกำลังใจคนทำงานจะเป็นอย่างไร อะไรที่ควรเป็นความร่วมมือคงได้คำตอบว่าใครได้มากก้อทำไปก้อแล้วกันนะ จริงไหม



ผู้ตั้งกระทู้ kan :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-04 22:50:33


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3280022)

ข้อเสนอหลักเกณฑ์ระดับความขาดแคลนบุคลากร

พิจารณาจากข้อมูล  5 ลักษณะ จัดน้ำหนักแต่ละลักษณะเป็น 3 ระดับ ดังนี้

             1.  ความขาดแคลนในการสรรหาบุคลากร

                       น้ำหนัก 3  =  สรรหาได้ยากมาก เพราะผลิตน้อย

                       น้ำหนัก 2  =  สรรหาได้ค่อนข้างยาก 

                       น้ำหนัก 1  =  ไม่มีปัญหาถ้าได้บรรจุเป็นข้าราชการ

             2.  ความขาดแคลนตามความสูญเสียบุคลากร

                 น้ำหนัก 3  =  ระดับรุนแรง (ลาออกตั้งแต่ 10%ขึ้นไปของการรับเข้าใหม่)

                       น้ำหนัก 2  =  มีแนวโน้มสูง (ลาออกน้อยกว่า 10% ของการรับเข้าใหม่)

                       น้ำหนัก 1  =  ความสูญเสียน้อย

              3.  การถูกกำหนดให้ต้องทำงานล่วงเวลาเกินมาตรฐาน

                       น้ำหนัก 3  =  ทำงานล่วงเวลาเกินกว่ามาตรฐานมาก

                       น้ำหนัก 2  =  ทำงานล่วงเวลาเกินกว่ามาตรฐานปานกลาง

                       น้ำหนัก 1  =  ทำงานล่วงเวลาไม่เกินมาตรฐาน

              4.  ความขาดแคลนตามกรอบอัตรากำลังที่องค์กรวิชาชีพกำหนด

                       น้ำหนัก 3  =  ขาดมาก (มากกว่า 50%)

                       น้ำหนัก 2  =  ขาดปานกลาง (26-50%)

                       น้ำหนัก 1  =  ขาดน้อย  (10-25%)

              5.  ผลกระทบของการขาดแคลนต่อการจัดบริการที่จำเป็นเร่งด่วน

                       น้ำหนัก 3  =  กระทบมาก

                       น้ำหนัก 2  =  กระทบปานกลาง

                       น้ำหนัก 1  =  กระทบน้อย

วิธีหาระดับความขาดแคลน ให้นำน้ำหนักทั้งหมดรวมกัน และจัดระดับดังนี้

                      ระดับ 1  หมายถึง มีน้ำหนัก ตั้งแต่  5 – 8

                      ระดับ 2  หมายถึง มีน้ำหนัก ตั้งแต่  9 – 12

                      ระดับ 3  หมายถึง มีน้ำหนัก ตั้งแต่  13 – 15

ข้อ 3.  แบ่งเกณฑ์ระดับความขาดแคลนบุคลากรในแต่ละวิชาชีพและตามหน่วยบริการ โดยความเห็นชอบของ

           หน่วยราชการต้นสังกัด เป็น 3 ระดับ

           ระดับที่ 1 ขาดแคลน มากกว่า ร้อยละ 15 แต่ไม่เกินร้อยละ 25

           ระดับที่ 2 ขาดแคลน มากกว่า ร้อยละ 25 แต่ไม่เกินร้อยละ 50

            ระดับที่ 3 ขาดแคลน มากกว่า ร้อยละ 50

ข้อ 4.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลน ระดับที่ 1 ให้จ่ายตามสาขาวิชาชีพ ในอัตราต่อเดือนตามนี้
                   แพทย์                                        10,000   บาท
                   ทันตแพทย์                               5,000   บาท
                   เภสัชกร                                      3,000   บาท
                   พยาบาลวิชาชีพ                         2,000                บาท
                   สหวิชาชีพ                                               1,500  บาท   


ข้อ 5.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลน ระดับที่ 2 ให้เพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 50
ข้อ 6.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลน ระดับที่ 3 ให้เพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 100
ข้อ 7.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญและประสบการณ์ ให้จ่ายแก่บุคลากรที่มีอายุ

           งานเกิน 3 ปีเพิ่มอีก ร้อยละ 50 ของการจ่ายในข้อ 4

ข้อ 8. ค่าตอบแทนตามความขาดแคลนไม่ปรับตามคุณวุฒิทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละสาขาวิชาชีพ

  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลนบุคลากรในโรงพยาบาลทั้งหมดของสปสธ.

วิชาชีพ

จำนวนบุคลากร

ระดับ

อัตรา (บาท/คน/เดือน)

รวมต่อปี(ล้านบาท)

แพทย์

10,800

2

20,000

2,592

ทันตแพทย์

3,000

2

10,000

360

เภสัชกร

4,700

1

4,500

253

พยาบาล

66,000

2

4,000

3,168

สหวิชาชีพ

2,300

1

2,250

62

รวม

 

 

 

6,435

วิธีคิดคือ

พยาบาลจัดอยู่ในกลุ่ม 2  จึงได้ค่าตอบแทน

=   2,000 บาท + 1,000 บาท (กรณีกลุ่ม2ส่วนเพิ่มจากกลุ่ม1 อีก 50%ของกลุ่ม1)

= 3,000 บาท   

กรณีทำงานมากกว่า 3 ปีให้เพิ่ม อีก50% = 3,000+1,000 = 4,000 บาท

ผู้แสดงความคิดเห็น kan วันที่ตอบ 2011-02-04 22:51:38


ความคิดเห็นที่ 2 (3280213)
คุณคห.2 คะ  เกณฑ์ที่คุณ copy มารู้สึกว่าจะยกเลิกไปแล้วนะคะ
ผู้แสดงความคิดเห็น กุ๊งกิ๊ง วันที่ตอบ 2011-02-06 17:14:14


ความคิดเห็นที่ 3 (3280214)
โทษทีค่ะ  คุณ คห.1 ค่ะ  ไม่ใช่ คห.2 คะ  ลองเข้าไปดูนะคะ
ผู้แสดงความคิดเห็น คห2 วันที่ตอบ 2011-02-06 17:15:18


ความคิดเห็นที่ 4 (3280215)
www.thaiclinic.com ค่ะ   พวกหมอกำลังทะเลาะกันเองค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น กุ๊งกิ๊ง วันที่ตอบ 2011-02-06 17:16:30


ความคิดเห็นที่ 5 (3280459)
ล่าสุดที่รับทราบได้เสนอเข้าไปดังนี้ครับ


ข้อเสนอหลักเกณฑ์ความขาดแคลน
๑. ความขาดแคลนในการสรรหาบุคลากร
ใช้เกณฑ์ - จำนวนปีที่ใช้ในการเรียน
- การขาดการจัดสรรทุนให้บรรจุเป็นข้าราชการ (จำนวนที่จบxจำนวนปีที่ไม่มี
การจัดสรรทุนให้)
- จำนวนลูกจ้างชั่วคราว
- อัตราการสอบใบประกอบโรคศิลปะผ่านเฉลี่ย/ปี
๒. ความขาดแคลนเนื่องจากการศูญเสียบุคลากร
ใช้เกณฑ์ - การลาออก
- การโยกย้ายจากโรงพยาบาลชุมชนไปโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
๓. เดิม การถูกกำหนดให้ต้องทำงานล่วงเวลา
เสนอให้ตัดออก เนื่องจาก - ข้อมูลไม่สะท้อนสถานการณ์จริง เนื่องจากบางวิชาชีพ
แม้ว่ามีข้อกำหนดว่า ต้องขึ้นเวร แต่อัตรากำลังที่มีอยู่ไม่เพียง
พอ รวมทั้งข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ
๔. ความขาดแคลนตามกรอบอัตรากำลังที่องค์กรวิชาชีพกำหนด
เสนอเปลี่ยนชื่อเป็น ความขาดแคลนตามกำหนดของมาตรฐานวิชาชีพ
ใช้เกณฑ์ - GIS (ที่อาจต้องทบทวนใหม่)
copy มาจาก web เภสัชครับ ตามคห 1น่าจะไม่ใช่ เภสัชท่านนี้น่าจะได้เข้าร่วมประชุมนะครับเท่าๆที่อ่านดู
ผู้แสดงความคิดเห็น 999 วันที่ตอบ 2011-02-08 13:03:51


ความคิดเห็นที่ 6 (3280642)

สงสัยว่าแล้วพวก เวชกิจฉุกเฉิน หรือ สาธารณสุข 4ปี จะได้ค่าตอบแทนมั้ย ไม่เห็นมีเลยครับ

งง

ผู้แสดงความคิดเห็น 587 วันที่ตอบ 2011-02-09 12:31:34


ความคิดเห็นที่ 7 (3281508)
ค่าตอบแทนเป็นยังไงบ้าง เห็นว่าประชุมกันวันนี้ 14/2/54 แจ้งผลการประชุมด้วยจักขอบคุรอย่างยิ่งครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น 8888 วันที่ตอบ 2011-02-14 22:47:42


ความคิดเห็นที่ 8 (3281930)

เท่าที่ทราบตอนนี้เบี้ยเลี้ยงปรับเป็นวันละ 240 บาทแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น ผ่านมา วันที่ตอบ 2011-02-17 12:41:13


ความคิดเห็นที่ 9 (3282423)
พี่กรรณคะ พวกหนูเหนื่อยแทนพี่จังที่ต้องต่อรองค่าตอบแทนให้พวกเราพวกเราเป็นกำลังใจนะคะพี่
ผู้แสดงความคิดเห็น พยาบาลโรงพยาบาลชุมชน วันที่ตอบ 2011-02-21 08:33:56



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.