ReadyPlanet.com


ขอเชิญตั้งกระทู้หรือสอบถามข้อมูลได้เลยนะครับ


เป็นการเปิดตัวครั้งแรกของ www.thaicne.comขอเรียนเชิญทุกท่านส่งข้อมูล  บทความหรือ วิชาการ  กิจกรรมมาลงกันได้นะครับ


ผู้ตั้งกระทู้ vit :: วันที่ลงประกาศ 2007-02-09 13:06:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (503743)

อยากให้ Link ของ พรพ ,รพ.บ้านตาก, สมาคมผู้ดูแลเบาหวาน copd  หรือสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยด้านต่างๆ ได้ไหมครับ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เบิ้ม วันที่ตอบ 2007-02-12 09:40:26


ความคิดเห็นที่ 2 (503923)
รบกวนพี่ ส่งชื่อ web มาให้ผมครับจะทำการ link ให้ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2007-02-12 12:53:02


ความคิดเห็นที่ 3 (504145)

เรียน   คณะกรรมการบริหารชมรมฯ ทุกท่าน

           ขอเชิญคณะกรรมการฯเข้าร่วมประชุมในวันที่ 8-9  มี.ค.50  ณ  ห้องประชุมสำนักการพยาบาล  และต้องขออภัยที่ต้องเลื่อนวันประชุม  เนื่องจากวันที่ 1-2 มี.ค.50 คณะกรรมการหลายท่านติดการประชุมของสภาการพยาบาลที่ภาคเหนือค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น สิริเกศ วันที่ตอบ 2007-02-12 18:05:40


ความคิดเห็นที่ 4 (509593)

เวลาที่ท่านตรวจสุขภาพประจำปี  ผลการตรวจที่สนใจส่วนมากจะเกี่ยวกับ ค่าไตรกลีเซอไรด์  ค่าโคเรสเตอรอล ซึ่งก็มี HDL (ไขมันชนิดดี) กับ LDL (ไขมันเลว)  ถ้าท่านลองนำเอาค่าของ HDL  หารด้วยค่า  ไตรกลีเซอไรด์  หากผลลัพธ์ออกมาเกิน 2  แสดงว่า  ท่านอยู่ในกลุ่ม Syndrome X  แล้วละค่ะ

Syndrome X  คืออะไร  โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ  วันนี้ลองกลับไปหาค่าดังกล่าวข้างต้นก่อนนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สิริเกศ วันที่ตอบ 2007-02-19 19:31:00


ความคิดเห็นที่ 5 (510417)

อาการต่อต้านอินสุลินทำให้ร่างกายมีความต้องการอินสุลินที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดให้กลับสู่ภาวะปกติ  แม้ว่าระดับอินซูลินที่เพิ่มสูงขึ้นจะมีผลในการควบคุมน้ำตาลในเลือด  แต่มันก็สามารถจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ  ได้แก่

         - ทำให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจวายและลมปัจจุบัน

         - ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง

         - ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

         - ทำให้คอเลสเตอรอล HDL (คอเลสเตอรอลดี)มีปริมาณลดลง 

         -  ทำให้คอเลสเตอรอล LDL (คอเลสเตอรอลเลว) มีปริมาณเพิ่มขึ้น

         - ทำให้มีแนวโน้มจับตัวเป็นก้อนของเลือด

         -  ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้

            ปัญหาเหล่านี้ ดร.เจอัลด์ รีเว่นส์  ตั้งชื่อว่า  Syndrome  X  ซึ่งคุณสามารถทดสอบอย่างง่ายๆ  ได้  เช่น  หากคุณมีระดับของไตรกลีเซอไรด์ที่ 210 และมีระดับคอเลสเตอรอล HLD ที่ 30  นำ 210มาหารด้วย 30  ซึ่งค่าของอัตราส่วนเท่ากับ 7  นั่นหมายความว่าอัตราส่วนมีค่ามากกว่า 2  คุณสามารถสรุปได้ว่า  คุณกำลังเข้าสู่ภาวะต่อต้านอินสุลินหรือเข้าขั้น Syndrome X

            หากมีโอกาสลองหาซื้อหนังสือ "เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริมบำบัดโรค...ความตายอาจ...กำลังครอบงำคุณ"  ของ RAY D.STRAND  ซึ่งแปลโดยพรหมพัฒณ  ธรรมะรัตน์จินดา  อ่านดูนะคะ  จะได้ประโยชฯจากโภชนบำบัดอย่างมาก  ดีกว่ารับประทานยาเยอะเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น สิริเกศ วันที่ตอบ 2007-02-20 17:30:38


ความคิดเห็นที่ 6 (4053157)

 โรคเกาต์

เกาต์ หรือ (Gout) เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง (พบได้ประมาณ 2-4 คน ใน 1,000 คน[1]) จัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยอายุ 40-60 ปี จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สังเกตได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็มากขึ้นตามไปด้วย[2] มักพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า[1] ส่วนในผู้หญิงจะพบได้น้อย หรือถ้าพบก็มักจะเป็นผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว (มักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป) โดยทั่วไปมักเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว ในบางครั้งอาจเกิดกับหลายข้อได้พร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ นิ้วหัวแม่เท้า

สาเหตุของโรคเกาต์

โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจนเกิดการตกผลึกของยูเรตตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ข้อ (ทำให้เกิดข้ออักเสบ) ไต (ทำให้เกิดนิ่วในไตและไตวาย) ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงก็เนื่องมาจาก ร่างกายสร้างกรดยูริกมากกว่าปริมาณที่ขับออก (นอกจากกรดยูริกในเลือดสูงจะเป็นผลมาจากการที่ร่างกายขาดยีนในการสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบว่าอาจเป็นผลมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่มีสารพิวรีนสูง และจากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรีนออกมา ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้) หรือเกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติแต่ปริมาณที่ขับออกจากร่างกายมีน้อยกว่า (กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกายได้ 2 ทางหลัก คือ ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 และส่วนที่เหลือจะขับออกทางไตได้ประมาณ 2 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณ 90% จะมีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต) ส่วนสาเหตุอื่น ๆ หรือสาเหตุที่ทำให้ข้ออักเสบเป็นซ้ำใหม่ คือ

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมจากการขาดเอนไซม์บางตัวหรือเอนไซม์บางตัวทำงานมากเกินไป เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักพบว่ามีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
  • เกิดจากโรคบางชนิดที่ส่งผลให้มีกรดยูริกในเลือดสูง เช่น โรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการใช้ยารักษามะเร็งหรือฉายรังสี เป็นต้น
  • เกิดจากไตขับกรดยูริกได้น้อยลง เช่น เป็นโรคไต ภาวะไตวาย ตะกั่วเป็นพิษ
  • เกิดจากโรคต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์ (ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน, ภาวะขาดไทรอยด์) เพราะส่งผลให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
  • เกิดจากเพศ เนื่องจากพบโรคนี้ได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ โดยเฉพาะเบียร์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการขับกรดยูริกออกทางไตหรือทางปัสสาวะ หลังการดื่มจึงทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง กรดยูริกจึงคั่งอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ
  • การรับประทานอาหารที่ให้กรดยูริก (สารพิวรีน) สูงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ หรือการรับประทานอาหารที่หมักด้วยยีสต์ (Yeast คือ เชื้อราบางชนิดที่ใช้ในการหมักอาหารและเครื่องดื่ม) เพราะเป็นสาเหตุทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
  • ความอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน โดยอาจสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินที่ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน (Insulin resistance)
  • เกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ข้อกระดูก การกระทบกระแทกที่ข้อ
  • อากาศเย็น หรืออากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงเช้า หรือช่วงก่อนฝนตก
  • การติดเชื้อของร่างกาย
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด อาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ เพราะยาบางชนิดมีผลทำให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง เช่น แอสไพริน (Aspirin)
ผู้แสดงความคิดเห็น Top (topp2008-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-05-09 20:35:44



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.