ReadyPlanet.com


ทำงาน 17 ปี ไม่ได้บรรจุผูกคอตายประท้วงรัฐ!!!


ทำงาน 17 ปี ไม่ได้บรรจุผูกคอตายประท้วงรัฐ!!! สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก สุดสลดใจ! กับเรื่องราวลูกจ้างชั่วคราวโรงพยาบาลของรัฐน้อยใจทำงานนาน 17 ปี ยังไม่ได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ จึงตัดสินใจแขวนคอตายประท้วง โดยลูกจ้างคนดังกล่าว คือ นายคณาพันธ์ ปานตระกูล อายุ 37 ปี จากการสอบสวนนางสมรัตน์ ปานตระกูล อายุ 52 ปี มารดาผู้ตายกล่าวว่า สาเหตุที่ลูกชายฆ่าตัวตาย เพราะทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวโรงพยาบาลโพธาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ซึ่งมีเงินเดือนแค่ 5,000 บาทเศษ มานานกว่า 17 ปี แต่ไม่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ จึงเกิดความน้อยใจ ตัดสินใจแขวนคอตายดังกล่าว โดยก่อนตายได้เขียนจดหมายไว้ 3 ฉบับ มีเนื้อหาร้องทุกข์ถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหารโรงพยาบาลโพธาราม ระบุว่า ปัจจุบันลูกจ้างชั่วคราวในโรงพยาบาลได้เงินเดือนน้อยมาก ไม่พอกับค่าครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งยังไม่มีการพิจารณาบรรจุเป็นพนักงานประจำ ทำให้ไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ เงินเดือนก็ไม่ปรับ ซึ่งอยากให้ผู้มีอำนาจเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานของรัฐมีสวัสดิการที่ดีขึ้น โดยในเนื้อความของจดหมายนั้นระบุว่า "การกระทำของผมในครั้งนี้ ถ้าท่านใดหรือหน่วยงานใดได้รับผลกระทบ กระผมขออโหสิกรรมไว้ด้วย ถ้าหากเป็นไปได้กระผมอยากขอกราบเท้าท่านนายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข , ผู้อำนวยการ , ฝ่ายบริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของทุกโรงพยาบาลทุกท่าน กระผมตอนยังมีชีวิตอยู่กระผมรู้สึกว่าตัวเองนั้นมีประโยชน์กับบุคคลรอบข้างน้อยมาก จึงคิดว่าถ้าตายไปคงจะมีประโยชน์กับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่และยังอยากสู้ชีวิตต่อไป ชีวิตของกระผมคงจะไปกระตุ้นพวกท่านให้อยากช่วยเหลือหรือมีความอนุเคราะห์พวกลูกจ้างชั่วคราวบ้าง พวกท่านมีอำนาจ มีบารมี มีความรู้ พวกท่านคงมีหนทางคิดพิจารณาหานโยบายสร้างขวัญ และกำลังใจให้กับลูกจ้างชั่วคราวให้มาก ขอความกรุณาเถอะครับ ลูกจ้างชั่วคราวบางคนทำงานมา 5-20 ปี เงินเดือน 5,360 บาท หักส่วนอื่นแล้วเหลือประมาณ 4,900 บาท แต่ละเดือนไม่พอใช้จ่ายหรอกครับ พวกกระผมไม่มีกฎหมายรองรับ สู้แรงงานต่างด้าวยังไม่ได้เลย พวกกระผมก็ต้องกินต้องใช้เหมือนพวกท่าน ต้องการความมั่นคงในชีวิตเหมือนพวกท่าน และที่สำคัญงานที่พวกกระผมทำมันไม่ใช่งานชั่วคราว มันเป็นงานที่ต้องทำทุกวัน ทำจนตายอย่างนี้ไม่น่าที่จะเรียกว่า งานชั่วคราว ขอความกรุณาโปรดพิจารณาช่วยเหลือลูกจ้างชั่วคราวที่ยังอยากสู้ชีวิตต่อไปด้วยเถิด การตายของกระผมคงจะเป็นประโยชน์แด่ลูกจ้างชั่วคราวทั้งหลายทุกโรงพยาบาล งานที่พวกเรากระทำไม่ใช่งานชั่วคราว" ลงชื่อ คณาพันธุ์ ปานตระกูล คัดลอกจาก http://hilight.kapook.com/view/6820


ผู้ตั้งกระทู้ ผกค.นครน่าน :: วันที่ลงประกาศ 2013-07-29 19:16:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3361814)
อีกหน่อยก็จะมีข่าวหน.พยาบาลฆ่าตัวตายอายุการเข้าสู่ตำแหน่งมากแต่ไม่ได้คนที่เข้าสู่ตำแหน่ง1-5ปีได้พช.กันพวกคุณไม่สงสารคนที่เค้าทำงานมานานและไม่ได้สร้างภาพกันเลยเหรอทุกวันนี้มือใครยาวสาวได้สาวเอาและเห็นแก่ตัวมากขึ้นพวกพ้องน้องรักมาก่อนวิชาชีพเดียวกันฆ่ากันเอง ****อยากทราว่าเกณฑ์นี้มันยุติธรรมสำหรับหัวหน้าพยาบาลที่อายุการเข้าสู่ตำแหน่งมากหรือยังอย่าเหยีบยกันลงมากกว่านี้เลยผลประโยชน์และพวกพ้องมาก่อนคุณธรรมและความยุติธรรมเสมอสงสารหัวหน้าที่เค้าทำงานอย่างจริงจังไม่เคยเสนอหน้าและสร้างภาพ**** เสนอเกณฑ์ตามการประเมินค่างานของ กพ.ประกอบการจัดลำดับ ประกอบด้วย ลำดับที่ ประเด็นการพิจารณา เกณฑ์ ระดับคะแนน ๒๐ ๑๕ ๑๐ ๕ ๑ ความยุ่งยากซับซ้อนในการบริหารจัดการ เพราะหน่วยงานมีขนาดของการบริหารที่มีขนาดใหญ่ ปริมาณการให้บริการมีจำนวนมาก และมีผู้รับบริการที่มีภาวะสุขภาพที่ต้องการบริการที่ซับซ้อน กำหนดตามขนาดของบริการโรงพยาบาลตาม service plan M2 F1 F2 F3 และเปิดใหม่ ๒ การบริหารงานที่มีความยากที่เกิดจาก ความจำกัดของทรัพยากรและพื้นที่ในการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงไม่น่าอภิรมย์ กำหนดตามประเภทพื้นที่ที่กระทรวงกำหนด พื้นที่ ทุรกันดาร ๒ พื้นที่ทุรกันดาร๑ พื้นที่ปกติ ๓ การบริหารงานเครือข่ายและการสนับสนุนเครือข่ายการให้บริการเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการต่อเนื่องที่ได้มาตรฐาน กำหนดตามปริมาณของหน่วยบริการในเครือข่าย มากกว่า ๑๕ ๑๐-๑๔ แห่ง ๕- ๙ แห่ง น้อยกว่า ๕ แห่ง ๔ ประสบการณ์และการสั่งสมความเชี่ยวชาญ ในการบริหารจัดการ กำหนดตามอายุของประสบการณ์การเป็นหัวหน้าพยาบาลหรือรักษาการณ์ หัวหน้าพยาบาล ( จำนวน ปี ตั้งแต่แต่งตั้งเป็นหัวหน้าพยาบาล) มากกว่า ๕ ปี มากกว่า ๓ ปี ถึง ๕ ปี มากกว่า ๑ปี ถึง ๓ ปี น้อยกว่า ๑ ปี ๕ การมีส่วนร่วมในการผลักดันการกำหนดนโยบาย การพัฒนาระบบบริการ การพัฒนาวิชาชีพ การผลักดันเชิงการบริหารทางการพยาบาล เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของระบบสุขภาพ การมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ ทั้งในรุปแบบกรรมการ อนุกรรมการ ของหน่วยงานในระดับนานาชาติ ระดับชาติ ในหน่วยงานทั้งภาครัฐแ ในองค์กรวิชาชีพ ชมรมฯ สมาคมฯ กรรมการระดับชาติ ระดับนานาชาติ ระดับประเทศ ระดับภาค กรรมการระดับเขต กรรมการระดับจังหวัด กรรมการระดับอำเภอ หมายเหตุ กรณีคะแนนรวมเท่ากันให้พิจารณาเรียงจาก
ผู้แสดงความคิดเห็น เพื่อนร่วมวิชาชีพ วันที่ตอบ 2013-07-30 08:49:25


ความคิดเห็นที่ 2 (3361825)
ความเสียสละ ทุ่มเทให้กับการทำงานเท่าไร ไม่มีใครมองหร็อกค่ะถ้าเราขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชาหรือลูกน้องยังไม่มีความรักสามัคคีกัน พลังของพยาบาลแบบ Unity ไม่เกิด ก็ขนขวายหาที่เกาะตัวใครตัวมัน แข่งกันดีสุดท้ายก็จะไม่ได้ดีเลยสักคนแถมต้องกลำกลืนกับสำนึกด้อยค่า ของตัวเองทุกวันๆ คนมากพลังมาก เปรียบเหมือนตัวจักรขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของสาธารณสุข แต่ไม่ได้รับการดูแลรักษาให้ดี สุดท้ายก็พัง ผลเสียก็ตกกับทุกคนแหละค่ะไม่ว่าเรา เค้า ญาติเรา ญาติเค้า ผู้มีอำนาจคงไม่เข้าใจ
ผู้แสดงความคิดเห็น ผกค.วิหารแดง วันที่ตอบ 2013-07-30 12:11:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.