ReadyPlanet.com


ดูนโยบายสาธารณสูุข ของสองพรรค แล้วเลือกใครดี


ปัญหาหลักๆ คือ จำนวนผู้ป่วยนอกและในเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 และผู้ป่วยในเพิ่มร้อยละ 23 ขณะที่จำนวนแพทย์พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขกลับไม่เพียงพอเท่ากับภาระงานที่เพิ่มขึ้น แถมสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กลับไม่มีนโยบายเพิ่มข้าราชการอีก ที่สำคัญ ปัญหาการเงินยังไม่ชัดเจน กลับมี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ...ซึ่งต้องเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาลของรัฐเพื่อเข้ากองทุนอีก โดยผู้ป่วยนอกคิดรายละ 5 บาทต่อปี ผู้ป่วยในรายละ 80 บาทต่อปี เมื่อคำนวณแล้วจะพบว่า รพศ./รพท.ทั้งประเทศต้องจ่ายถึงปีละ 1,314 ล้านบาท เป็นภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้น โดย รพศ./รพท.ต้องดิ้นรนกันเอง ดังนั้น อยากฟังนโยบายของพรรคการเมืองว่า ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว” นพ.ประเสริฐ กล่าว ขณะที่พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์ รพศ./รพท. (สพศท.) กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องปัญหาบุคลากรที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจาก รพศ./รพท.ขาดแคลน บุคลากรอย่างมาก โดยพบว่ามีการจ้างพยาบาลชั่วคราวราว 30,000 อัตรา นานต่อเนื่อง 3 ปี โดยจ่ายในอัตราจ้างเท่าเดิม ขณะนี้มีพยาบาลราว 10,000 อัตรา ซึ่งต้องจ้างแบบหมุนเวียน อยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งแก้ปัญหาอย่างจริงจังและมีนโยบายที่ชัดเจนด้วย นายจุรินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สธ.ไม่ได้นิ่งเฉย อย่างการดำเนินการเรื่องการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ สธ.ได้ดำเนินการขอเงินจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาได้แล้วจำนวน 4,200 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ปลัด สธ.กำลังเร่งดำเนินการในส่วนของการขอเงินจาก สำนักงบประมาณ มาจ่ายให้บุคลากร โดยงบดังกล่าวจำเป็นต้องดำเนินการตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง แต่ขณะนี้ ปลัด สธ.เร่งเจรจาเพื่อขอยกเว้นและอยากให้จ่ายตามระเบียบของเงินบำรุงโรงพยาบาล ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะแบ่งงบประมาณเป็นสองส่วนให้ โรงพยาบาลชุมชน(รพช.) 2,100 ล้าน และ รพศ./รพท.2,100 ล้านบาท นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า เรื่องของการแก้ปัญหาบุคลากรนั้น ขณะนี้นโยบายเดิมของ ปชป.ก็เร่งผลิตบุคลากรเพิ่มอยู่แล้ว แต่จะเร่งปรับลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นข้าราชการประจำ ซึ่งมีราว 30,000 อัตรา โดยขณะนี้กำลังเร่งเจรจากับ ก.พ.อยู่ ซึ่งยอมรับว่า ส่วนนี้ดำเนินการค่อนข้างยากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองฯ จะต้องเน้นเรื่องความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย คือ คุ้มครองทั้งผู้ให้บริการสาธารณสุขและผู้รับบริการ คือ พยายามให้ผู้ป่วยได้รับเงินชดเชย และปกป้องหมอไม่ให้ถูกฟ้อง ส่วนเรื่องการหางบประมาณของกองทุนนั้น คาดว่าจะต้องหางบเฉพาะอีกก้อน โดยไม่เบียดบังเงินจาก รพศ./รพท.ที่สำคัญจะต้องมีการหารือให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ได้ ขณะที่นายวิชาญ กล่าวว่า ปัญหาขาดแคลนบุคลากรนั้น วิธีการแก้ปัญหาไม่ยาก เพียงแค่การเจรจากับ ก.พ.เท่านั้น แต่ที่ผ่านมา กลับไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง จากนั้นควรมีการเพิ่มข้อตกลง ในเรื่องของสวัสดิการเงินช่วยเหลือการทำงานพื้นที่เสี่ยงภัย รวมทั้งภาระงาน เพื่อป้องกันแพทย์สมองไหล ที่สำคัญ สธ.ควรดูแลกันเองในเรื่องการจัดสรรบุคลากรสธ. โดยตั้งเป็นคณะกรรมการจัดหาบุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะ เรียกว่า กสธ. โดยต้องแก้กฎหมายเพิ่มเติมให้อำนาจ สธ.จัดการเรื่องนี้ ซึ่งหากพรรคได้เป็นรัฐบาลจะเดินเรื่องนี้อย่างเต็มที่ สธ.ต้องคุมกำเนิด ก.พ.ไม่ใช่ให้ ก.พ.มาคุม สธ.ส่วนการดำเนินงานด้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุข นั้น ควรมีการทำประชาพิจารณ์ให้รอบด้าน โดยหากได้เป็นรัฐบาลคงต้องใช้ในส่วนของมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และขยายให้ครอบคลุมทั้ง 3 ระบบ คือ บัตรทอง ประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ


ผู้ตั้งกระทู้ ไทย :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-26 16:31:44


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.